ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกผมเลยค้าบๆๆๆ ^o^

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             เครือข่ายที่ทำงานรวมกันเป็นกลุ่มงาน เรียกว่า  Workgroup  เมื่อเชื่อมโยงหลาย ๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกันจะเป็นเครือข่ายขององค์กร  จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่   สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและสื่อสารถึงกันได้  เช่น
  การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน   เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า บัญชีสินค้า  ฯลฯ
  การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย  อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น   อ่านเพิ่มเติม

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
    1) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สายอ่านเพิ่มเติม


อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1.โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodemอ่านเพิ่มเติม


"การสื่อสารข้อมูล"


  การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
  วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด  อ่านเพิ่มเติม..

"ความรู้เบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์"


   การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆเป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อวารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง “พ่อของแผ่นดิน”

พ่อต้องมีภาระที่ต้องเตรียมความพร้อมให้แก่ลูก พ่อ เติมแต่งให้ลูกได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ อันมีคุณค่า พ่อทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ เพื่อจะได้มีเงินให้ลูกเรียน ให้ลูกได้สบาย ถึงแม้ว่าพ่อจะเหนื่อยกับการหาเงิน แต่พ่อก็มีความสุข เมื่อเห็นลูกรักมีความสุข พ่อเป็นครูคนแรกที่ชี้โลกกว้างและสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก เป็นครูของแรกของลูกๆ ทุกคน ตลอดเวลาและตลอดชีวิต พ่อจะให้ความรัก ความเข้าใจ ความห่วงใยอาทรแก่ลูก โดยยากที่จะหาจากผู้อื่น มาเปรียบ พ่อเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดสำหรับลูก เมื่อใดที่พ่อรู้ว่าลูกมีความทุกข์ พ่อก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย พ่อเป็นคนแรกที่เห็นใจและเข้าใจลูก พ่อเป็นผู้ที่คอยให้แสงสว่างแก่ลูกและคอยชี้แนวทางให้แก่ลูก พ่อต้องรับภาระมากมายในการดูแลลูก พ่อเป็นผู้บ่มเพาะคุณธรรม และลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่ลูกโดยตั้งแต่ยังอ่อนเยาว์ด้วยการสร้าง บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในบ้านที่มีความแจ่มใส สะอาด มีระเบียบ ลูกเรียนรู้โดยที่พ่อเป็นผู้ช่วย พ่อเปิดโอกาสให้ลูกได้สัมผัส สัมพันธ์ เรียนรู้โดยที่พ่อคอยดูอยู่ห่าง ๆพ่อคอยแนะนำเมื่อลูกสงสัย จัดหาสื่อที่มีคุณภาพ พ่อคอยชี้ทางที่ถูกต้องให้แก่ลูก คอยป้องกันทางเสื่อมและเสี่ยงของชีวิตลูก พ่อคอยบ่มเพาะ ปลูกฝัง ขัดเกลาอบรมบ่มนิสัยของลูก โดยที่พ่อไม่รู้สึกรำคาญหรือเหนื่อยกับการเลี้ยง ลูกเลย พ่อยอมทุกอย่างเพื่อให้ลูกได้ดี และประสบความสำเร็จในชีวิต